ถอดรหัสธัมม “ สัญญาเวทยิตนิโรธ “

วันนี้แถมให้หน่อยนะ

" สัญญาเวทยิตนิโรธ ต้องดับโกรธ ( โมโห ) เสียก่อนจึงจะได้ "

หมายความว่าอย่างไร ต้องแปลหรือตีความให้เข้าใจให้ถูกเสียก่อน ถ้าตีความผิด เข้าใจผิด ก็จะฝึกฝน ถ่ายทอด ทรงจำ ผิดไปตลอดกาลนาน

" สัญญา – เวทนา – จิต - นิโรธ " ถ้าเขียนแยกเป็นคำๆ ใช้หลักภาษาบาฬี ( บาลี ) แปลงตัวที่ถูกแปลงเพื่อผนวกคำออกให้เป็นตัวเดิม ก็จะได้อย่างที่ถอดเป็นคำ ๆ ที่เห็นข้างต้น

ทีนี้ก็มาทำความเข้าใจความหมายว่าท่านหมายถึงอะไรในคำนั้น ต้องการบอกสอนอะไร

เราเริ่มมองที่ " สัญญา "

ใช่ " สัญญา " นี้มีทั้งดีและร้าย ไม่มีก็ไม่ได้ มีแล้วจะบริหารจัดการอย่างไรจึงจะนำพาให้ชีวิตตนเป็นสุข ไม่ทุกข์ไม่จมอยู่ ไม่ฟูเกิน

แล้ว " เวทนา " ละ มันก็มีทั้งสุข ทั้งทุกข์ แล้วจะบริหารจัดการอย่างไร ให้เวทนานั้น ๆ เป็นไปตามความเป็นจริง

อย่างที่เคยบอกสอนไว้แล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเก่าหรือสัญญาใหม่ เวทนาเก่าหรือเวทนาใหม่ มันปนเปยุ่งเหยิงอีลุงตุงนัง จนจดจำไม่ได้ว่านั้นคืออะไรนี้คืออะไร

ทั้งหมดมันก็ถูกฝังอยู่ในจิตเราทั้งหมดไม่ได้อยู่เกินกว่าในจิต แม้กระทั่งที่เรียกว่าสัญญายะตะนะ มันก็ส่งไปฝังไว้ในจิตทั้งนั้น

ท่านจึงนำเอา สัญญา เวทนา จิต มาสมาสกัน แล้วใช้หลักบาฬีไวยกรณ์เข้าจัดการให้เป็นคำคำเดียว จึงเป็น " สัญญาเวทยิตนิโรธ "

เมื่อเข้าใจฐานของที่มาของคำสอนคำนั้น เราก็ใช้หลักที่ว่า " ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ " เพราะเราไม่รู้ " สัญญาเวทยิตนิโรธ " เราก็ทุกข์ เราจึงต้องกำหนดรู้ รู้สัณฐาน และสังขาร ถอดความได้ก็สำเร็จ ที่ไม่สำเร็จก็เพราะยังมีอารมณ์ อารมณ์ที่ว่าคืออะไร ก็ " โมโห " ไง โมโห นี้ร้ายนัก จะทำอย่างไร ก็ต้องมาถอดคำว่า “ โมโห “ มันเป็นอย่างไร สัณฐานอย่างไร สังขารอารมณ์อย่างไร

 

เมื่อถอดออกได้ มากน้อยขึ้นอยู่กับบุญญาธิการ คือ ความเพียร นั่นแหละ

มีความเพียรให้ถึงระดับเป็น " วสี " คือความเพียรที่ติดแน่นในทุกกาล อย่างเช่น " จงพิจารณาตนเองทุกวัน......"

 

บุญรักษา