สังโยค ( สังโยคะ ) กับ สังโยชน์ ( สังโยจะนะ )

มาทำความเข้าใจ "ธัมมะ" แบบง่าย ๆ โดยอาศัยธรรมดาโลกธรรม เพื่อปรับความเห็นหรือทิฐิของตนให้เข้าสู่ความเป็นจริง จะได้มีความเห็นชอบหรือสัมมาทิฏฐิ

# สังโยค ( สังโยคะ ) กับ สังโยชน์ ( สังโยจะนะ )

สังโยค( ะ ) คือกิเลสกามของสัตว์ไม่ว่าจะเป็นเพศ ชาย หญิง หรือ บัณเฑาะก์ ล้วนมีความ พึงใจรักชอบไปตามรสนิยมของตน และจะเข้ากันได้โดยธรรมชาติเดียวกันอันเป็นธรรมดาโลก เช่น หญิงที่มีความหลงใหลในตนทะนุบำรุงผิวพรรณใบหน้าทรงผม การแต่งกาย รองเท้าเสื้อผ้าหน้าผม รูปทรงท่าทางการเดินเหิน การไว้ตัวและอื่นใดอันประกอบล้วนสนองตัณหากามคุณ ย่อมพึงใจพอใจที่จะมองหาคบหาสมาคมในชายที่มีกิเลสนิสัยเฉกเช่นเดียวกัน นี้เป็นธรรดาสัตว์โลกที่ดำเนินไปในวัฏสงสาร

สังโยชน์ ( สังโยจะนะ ) คือการนำเอา สังโยคะธรรม มาคลี่กระจายออก แล้วแบ่งแยกไปตามลักษณะการรับรู้อารมณ์ของจิตผสานกับการตัดสินของใจ ( ความคิดวิเคราะห์ ) ด้วยกิเลสตนที่ขัดเกลาได้บ้าง ขัดเกลาไม่ได้บ้าง หรือพยายามขัดเกลาให้ลดลงบ้างด้วย กฎระเบียบ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ แยกได้ตามคำสอน สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ อุทธัจจะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ ปฏิฆะ และ อวิชชา

ท่านทั้งหลายลองเอากิเลสตนคือ สังโยคะ มากระทบจัดหมวดหมู่ ให้เห็นแนวทางและการขัดเกลาเพื่อแก้ไข จิตใจความนึกคิด การตัดสินกิเลสตนกิเลสสัตว์ ก็จะเห็นได้ไม่ยาก

โดยการนำเอา ธรรมอันเป็นธรรดาโลก มาวิเคราะห์ตามหลัก โพชฌังคะธัมม เพื่อยกระดับความเขาใจ " ธัมม " จาก โลกียธรรม ขึ้นสู่ โลกุตตรธัมม

โพชฌังคะธัมม สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ( รู้คุณรู้โทษ )

บุญรักษา