ไขปัญหาธรรมบนเว็บบอร์ด

ยินดีต้อนรับ, ผู้เยี่ยมชม
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน.    ลืมรหัสผ่าน?

จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
(1 viewing) (1) ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
Go to bottom
ตอบกลับ
เริ่มหัวข้อใหม่
หน้า: 12
หัวข้อ : จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
#141
จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 12 ปี, 7 เดือน ก่อน  
กราบนมัสการ ผมมีความสงสัยใคร่รู้เรื่อง จิตกับใจ ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน หรือเป็นไม่ใช่สิ่งเดียวกันครับ กราบขอความเมตตาจากหลวงพ่อได้โปรดอนุเคราะห์อธิบายข้อสงสัยให้ด้วยครับ


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
อดิศักดิ์

Last Edit: 2011/09/14 17:45 By admin.
Reply Quote
 
#142
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 12 ปี, 7 เดือน ก่อน  
เรื่อง จิต กับ ใจ จำได้ว่าในครั้งนั้น มีการถามนำในเรื่องอื่นก่อน แล้วจึงเข้ามาสู่ความสงสัยในคำว่า จิต กับ ใจ เอาว่าหลวงพ่อจะอธิบายให้อย่างง่ายๆ และสรุปได้ไม่ยาก

จิต เป็นธรรมชาติหนึ่งที่มีความละเอียดมาก เป็นที่รับรู้อารมณ์ และสามารถสั่งสมอารมณ์ต่างๆ เอาไว้ เป็นสัญญา และติดจำไปตลอด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนๆ กาลใดๆ อดีต ปัจจุบัน อนาคต

ใจ เป็นธรรมชาติหนึ่งที่หยาบเป็นส่วนหนึ่งของกายหยาบ ไม่ได้หมายถึงหัวใจ แต่หมายถึงสติปัญญาความสามารถในการคิด ที่เรียกว่า จินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นส่วนดี หรือส่วนชั่ว

จิต และ ใจ ทำงานร่วมกันอย่างไม่มีขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นในด้านดี หรือว่าด้านชั่ว ธรรมชาติทั้งสองนี้ ทำงานร่วมกัน โดยมี ธรรมชาติอื่นๆ คือกายทั้งหมด และ สภาพแวดล้อมกาย ในขณะใดๆ เมื่อจิตรับรู้อารมณ์หนึ่งเข้ามา (จิตทำงานได้ครั้งละหนึ่งเดียว) โดยผ่าน อายตนะทั้งสิบสอง ภายในหก ภายนอกหก ภายในคือธรรมชาติที่เรียกว่า กาย ภายนอกคือธรรมชาติที่เรียกว่า สภาวะแวดล้อม

ขณะจิตที่รับอารมณ์เข้า จิตก็จะต่อต้าน หรือยอมรับ อารมณ์ใหม่นั้น โดยนำไปเปรียบเทียบกับอารมณ์ที่เคยสั่งสมเอาไว้ แล้วส่งสัญญาณไปให้กับธรรมชาติที่รองรับ คือสติปัญญา ให้ตัดสิน แล้วจึงแสดงออกมา ในลักษณะของความดี ความชั่ว ขึ้นกับสภาพปัจจุบันของกายหยาบ

อันที่จริง ถ้าเห็นตามแต่ละขณะที่อธิบายมานี้ จะเห็นได้ว่า จิตนั้นประภัสสร คือบริสุทธิ์ ไม่ปรุงแต่ง แต่การปรุงแต่งนั้นมาจาก ธรรมชาติที่เรียกว่ากาย อันเกิดมาแต่กรรมจากมรณาสันนวิถีจิต เป็นตัวกำหนดจุติจิต เมื่อจิตไปปฏิสนธิในที่ใดๆ จิตได้นำเอาอารมณ์ต่างๆไปด้วย ขณะที่จุติจิตเกิดขึ้น อารมณ์ต่างๆ ในจิตนั้น หยุดการทำงานแล้ว เนื่องเพราะว่าไม่มีตัวรองรับคือกายหยาบ ขณะที่กายหยาบกำลังจะแตก ส่วนของสติปัญญาในกายหยาบนั้น ได้ทำหน้าที่ครั้งสุดท้าย คือรวบรวมกรรมต่างๆ แล้วประมวลเอากรรมสุดท้าย (ไม่ใช่สุดท้ายในการกระทำ แต่สุดท้ายในการประมวล) ส่งให้จิตจดจำ เมื่อจิตมีหน้าที่คือกรรม ในขณะสุดท้ายที่เรียกว่ามรณาสันนวิถีจิต อย่างที่ได้อธิบายแล้วว่าจิตนั้นเที่ยงนัก (เมื่อเข้าถึงฌานสี่ก็จะได้รับรู้อารมณ์นี้) เมื่อมีหน้าที่ ก็ต้องปฏิบัติอย่างไม่บิดพลิ้ว ย่อมนำจิตนี้ไปปฏิสนธิ ในที่ที่เหมาะสมกับคำสั่ง สัตว์ที่เกิดขึ้นมานั้น จึงต้องรับผลของกรรม เป็นไปตามกรรม อันเนื่องมาจากกายและสภาพแวดล้อมใหม่

เมื่อจิตได้กายใหม่ จิตก็ทำหน้าที่อย่างเดิม คือรับอารมณ์เข้า เปรียบเทียบ แล้วส่งให้กับส่วนที่รองรับ ของกายใหม่ สภาพของกายใหม่และสิ่งแวดล้อม ก็จะตัดสินไปตามธรรมชาติใหม่นั้น

จนกว่าจิตจะได้รื้อเอาอารมณ์ต่างๆที่ได้สั่งสมไว้นานไม่รู้ที่เกิด และที่ดับ มาจัดเรียงเสียใหม่ ซึ่งก็ต้องอาศัย กายและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งก็คือการได้เกิดในภพชาติที่เป็นมนุษย์ และที่สำคัญต้องมีคำสั่งสอนของ องค์พระพุทธศาสดา ที่สอนให้เข้าใจถึงการรื้อถอน และจัดเรียงใหม่ จิตที่สั่งสมกรรมมายาวนาน จึงจะมีโอกาส

ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็น ความดี หรือความชั่ว ล้วนไม่ได้มาจากจิต แต่มาจากธรรมชาติที่รับรู้การถ่ายทอดมาจากจิต ที่เป็นส่วนของความคิด สติ ปัญญา จินตนาการ ที่ถูกเรียกว่า ใจ เราจึงรวมเรียกว่า จิตใจ ถ้ากายหลังนี้ จะไม่ได้รับการอบรมให้เลือกทางถูก ตามที่พระพุทธศาสดาได้กล่าวสอนไว้ในมงคลสามสิบแปด อันเป็นหนทางในการนำสัตว์ออกจากทุกข์ อย่างเป็นขั้นตอนแล้ว กายนี้ ก็จะเดินทางผิด และสั่งสมกรรมหยาบหนักยิ่งๆ ขึ้น ที่สุดก็ลงสู่อเวจีมหานรกอย่างที่หมดโอกาสได้พบแสงสว่างอีก

แต่ถ้าเลือกเดินในทางถูก ตามคำสอนขององค์พระพุทธศาสดา ตั้งแต่เริ่มชีวิต หรือเริ่มเข้าใจในคำสอน จิตนี้ก็ย่อมมีโอกาสที่จะรื้อถอนและจัดเรียงใหม่ ในข้อมูลทั้งหลายที่ได้สั่งสมเอาไว้ คัดเลือกที่จะอยู่ในด้านดี เพียรพยายามตั้งมั่น เพียรพยายามที่จะอนุรักษ์ เพียรพยายามทำให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นในจิต ที่สุดย่อมกำจัดสิ่งไม่งามเหลือไว้แต่สิ่งงาม เมื่อปล่อยวางทุกอย่างลง ด้วยเข้าใจในสัจจะทั้งหลายแล้ว จิตย่อมหลุดพ้นจากพันธนาการทั้งปวง สามารถกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่ช้า ไม่สาย ก่อนตายก็ยังดี

บุญรักษา
กิตติญาโณ


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
Kittiyano

Reply Quote
 
#159
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 12 ปี, 3 เดือน ก่อน  
เคยมีคนถามเรื่องจิตกับใจในทำนองนี้หลายครั้ง ขอตอบตามที่ได้ศึกษาและเข้าใจในแง่มุมของสหธรรมมิกคนหนึ่งก็แล้วกัน

จิตคือพลังงานอันเป็นธรรมชาติที่บริสุทธ์อย่างหนึ่งที่ไม่สูญหายไปไหน อาจดำรงอยู่อย่างบริสุทธ์(ภาวะนิพพาน)หรือไปผสมกับธาตุทั้งสี่ทำให้เกิดเป็นชีวิตก็ได้ อันประกอบด้วยจิตหนึ่ง ธาตุสี่ ขันธ์ห้า อายตนะหก เมื่อมีชีวิต ใจจึงจะเกิดมีได้ จิตดี ใจสะอาด จิตวิปลาสใจฝั่นเฟือน
สภาวะดั้งเดิมของจิตนั้นเป็นปภัสร เมื่อปนเปื้อนด้วยกิเลสจึงจะขุ่นมัว ตัวที่เป็นสื่อส่งต่อปัจจัยที่จะทำให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมองได้นั้น ก็ต้องส่งผ่านมาทางใจ(อายตนะ) เพราะใจเป็นประตูหรือทวารที่จะเปิดรับ อะไรต่อมิอะไรเข้ามายังจิต จิตจะสะสมไว้ทั้งดีและไม่ดี และแสดงผลออกมาทางใจ

ใจคือหนึ่งในหก (เครื่องรับ)แห่งอายตนะภายใน ทำหน้าที่จับปัจจัยนำเข้าคือธรรมารมณ์หรืออารมณ์นั่นเอง แล้วแปรผลออกมาเป็นรูปอารมณ์ต่างๆ ส่งต่อไป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดังวงจรนี้

เมื่อมีอายตนะภายนอก (ปัจจัยนำเข้า) อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ (อารมณ์) ป้อนผ่านเข้าอายตนะภายใน (เครื่องรับ) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดกระบวนการแปรรูป (Work in Process) คือ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกสูดกลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกสัมผัส ใจจับธรรมารมณ์ (อารมณ์) ทำให้เกิดขันธ์ 5 ขึ้นมา (ฐานข้อมูล 5 กลุ่ม) คือ เกิดผลการแปรรูป ปรากฏภาพที่ตา หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายรู้สึก (แข็ง อ่อน ร้อน หนาว) ใจมีอาการทางอารมณ์ เกิดเวทนา (สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) สัญญา(การจำได้หมายรู้) สังขาร(การปรุงแต่ง) และวิญญาณ (การรับรู้) วงจรนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดตามลำดับที่ยกตัวอย่าง จะเริ่มเกิดจุดไหนก่อนก็ได้มันสามรถวิ่งไปครบวงจรได้เสมอ แล้วก็เร็วมาก และแสดงผลออกมาสามระดับคือ ระดับคิดเป็นมโนกรรม ระดับวาจาเรียกว่าวจีกรรม และระดับการกระทำเรียกว่ากายกรรม (สว่นตัวผมเรียกวงจรกรรม)

ดังนั้นจิตกับใจจึงต่างกัน แต่ทำงานร่วมกันจนคนทั่วไปแยกไม่ออก อยากรู้ใจให้ดูที่จิต เฝ้าดูจิตให้ระวังที่ใจ (เทียบเคียง: เหมือนอยากรู้เวลาให้ดูที่นาฬิกา นาฬิกาดีก็บอกเวลาตรง จิตเหมือนนาฬิกา เวลาเหมือนใจ เวลาไม่ตรง ซ่อมนาฬิกา ไม่ได้ซ่อมที่เวลา)


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
หญ้าพันปี

Reply Quote
 
#180
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 10 ปี, 7 เดือน ก่อน  
ตอบคำถามได้ดีทั้งสองท่าน แต่สงสัยคำตอบที่สอง ว่าจิตเป็นพลังงาน น่าจะยังไม่ถูกต้อง เพราะพลังงานกับสสารเป็นสิ่งเดียวกัน แต่อยู่คนละสภาพ ตัวอย่างเช่นมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าสสารเมื่อเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วเท่ากับแสง จะเปลี่ยนสภาพของสสารเป็นพลังงาน ดังนั้นสสารกับพลังงานเป็นสิ่งเดียวกันเมื่ออยู่ในสภาพดังกล่า ถ้ากล่าวว่าจิตเป็นพลังงาน ดังนั้นจิตก็เป็นสสารได้ด้วย ซึ่งไม่มีทางเป็นจริงไปได้ ที่จริงจิตน่าจะเป็นสภาพนามธรรม มีสภาพรู้อารมณ์ จิตเป็นสภาพรู้ แต่จิตอาจมีพลัีงได้ เป็นพลังจิต แต่ตัวจิตเองไม่ได้เป็นพลังงานครับ

Suth.


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
Suthipong

Reply Quote
 
#189
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 10 ปี, 1 เดือน ก่อน  
วันนี้ได้เขามาอ่านกระทู้ ก็ยินดีที่มีผู้มาร่วมสนทนา เป็นเช่นนี้ได้มากในทุกเรื่องปัญญาก็จะกระจ่าง เรียกว่าสว่างในปัญญา คือถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ด้วยการศึกษาสนทนาธัมม

ได้ขึ้นไว้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ง่าย แต่ก็จะพยายามทำให้ง่ายในการเข้าใจ ลองเอาคำสอนสรุปนี้ไปพิจารณาดูนะ กว่าหลวงตาจะเข้าใจก็ใช้เวลานานนับสิบๆปี ต้องเข้าใจสภาวะธรรมและสภาวะจิตก่อน ถึงได้ตีความได้ แล้วก็นำไปสอนต่อบอกต่อให้แก่บรรดาศิษย์ ด้วยการทำให้ง่ายในการเข้าใจ

"จิตเป็นพลังงานรูปหนึ่ง มีอำนาจ สร้างรูปได้ ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำ"

จิต ใจ กาย วิญญาน สังขาร อารมณ์ คำเหล่านี้ต้องทำความเข้าใจให้ถูก จึงจะเข้าใจหลักธรรมได้ถูกต้อง เช่นคำว่า "วิญญาน" โดยทั่วไปร้อยละเกือบร้อยก็จะเข้าใจใกล้เคียงกันว่าหมายถึง ดวงวิญญาน ถ้ายังมีชีวิตอยู่ก็ยังอยู่ในร่างกาย ถ้าตายแล้วก็หลุดออกจากร่าง แต่ความจริงในหลักธรรม วิญญาน หมายถึง "ประสาทสัมผัสที่มีอยู่กระจายทั่วร่างกายเป็นส่วนปลายสุดของขบวนการรับรู้อารมณ์" เป็นต้น ถ้าทำความหมายนี้ให้เข้าใจได้ ก็จะเข้าใจขันธ์ห้าได้อย่างถูกต้องตามขบวนการได้ดีขึ้น

เมื่อเข้าใจพื้นฐานของสัตว์ที่มีส่วนของขันธ์ห้าเหมือนกัน ก็จะเข้าใจ สัตว์ที่มีสี่ขันธ์ และ ที่มีขันธ์เดียว ได้ อย่างไม่ยากนัก และก็จะเข้าใจสภาวะธรรมต่างๆได้ตรงความเป็นจริง ไม่ต้องเรียนมากถึงระดับอภิธรรม เพียงแค่ธรรมอันเป็นพื้นฐานที่มีอยู่จริง เป็นจริง เห็นได้สัมผัสได้ด้วยตนเอง อันมีปรากฎอยู่แล้วในชีวิตของสัตว์แต่ละตัวตน การจะทำความเข้าใจก็ขึ้นกับ วาสนา(สันดาน) และปัญญาของภูมิธรรม ของสัตว์นั้นๆ

บุญรักษา
หลวงตา


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจง่าย

Reply Quote
 
#274
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 9 ปี, 7 เดือน ก่อน  
นานมากแแล้วที่ไม่ได้เข้ามาในเว็บบอร์ด ก็ด้วยสุขภาพ และกายหยาบที่เรียกกันทั่วไปว่าสังขารนั้นมันไม่เที่ยง เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสบาย เดี๋ยวลำบาก ทั้งหมดก็เป็นไปตามกรรมที่ได้สร้างมาแล้ว

ยิ่งแก่ตัวก็ยิ่งเห็นชัด ความไม่เที่ยงแห่งกายสังขาร และความไม่เที่ยงแห่งจิตและมโน การแปรเปลี่ยนแห่งอุณหของสภาวะธาตุ มีผลกระทบต่อสภาวะกายและจิตอย่างยิ่ง กายนั้นคุมไม่ได้ แต่จิตเราคุมได้ กายกระทบกับการแปรเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง แต่จิตต้องไม่เคลื่อนคล้อยไปตามสภาวะตึงหย่องแห่งธรรมชาติของกาย

ทำได้เช่นนี้จึงมีสุขได้ตลอดเวลา เมื่อถูกถามว่าสบาดีหรือ ก็ตอบได้คำเดียวว่าสุขสบายอย่างยิ่ง กินได้ ถ่ายออก นอนหลับ ทำกิจด้วยจิตว่าง เป็นไปตามความเป็นจริงที่ปรากฎตรงหน้า รู้จิต รู้อารมณ์ รู้บ่ม รู้เพาะ รู้เคาะ รู้ทิ้ง รู้เห็นตามความเป็นจริง สุขยิ่งตลอดอายุขัย รู้สร้าง รู้ทำลาย รู้ชดใช้ ย่อมหมดได้ทันต่อกาล

บุญรักษา


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
หลวงตากิตติญาโณ

Reply Quote
 
Go to top
ตอบกลับ
เริ่มหัวข้อใหม่
หน้า: 12