ไขปัญหาธรรมบนเว็บบอร์ด

ยินดีต้อนรับ, ผู้เยี่ยมชม
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน.    ลืมรหัสผ่าน?

จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
(1 viewing) (1) ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
Go to bottom
ตอบกลับ
เริ่มหัวข้อใหม่
หน้า: 12
หัวข้อ : จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
#279
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 9 ปี, 7 เดือน ก่อน  
วันนี้นึกได้เรื่องของจิต จึงเข้ามาต่อในหัวข้อเรื่องจิต

มีไม่มาก มีคนฝึกมาก แต่ละท่านแต่ละหน่วย ก็มีความรู้ ความเห็น แตกต่างกันไปมากมาย ที่เข้าใจตรงกันก็เป็นพวกเดียวกัน ที่เข้าใจต่างกันก็เป็นพวกต่างกัน ทั้งหมดขึ้นอยู่แต่กรรมของแต่ละตัวสัตว์ที่สร้างสมกันมาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน

วันนี้จะมาว่ากันถึงเรื่องจิตทิพย์ ฝึกฝนกันมา บ้างก็จับได้ บ้างก็จับไม่ได้ บ้างก็ปรุงแต่ง บ้างก็คิดฟุ้งซ่าน บ้างก็ทึกทักเอาต่างๆ นาๆ สำหรับหลวงตา วันนี้จะบอกว่า จิตทิพย์นั้นมี และฝึกได้ ต้องการรู้เรื่อง จิต กับใจ เรื่องโทรจิต เรื่องอะไร อะไร เกี่ยวกับจิต ก็ต้องเข้าถึงจิตตนเอง จิตของตัวเจ้าของนั่นแหละ ต้องเข้าถึงให้ได้ เมื่อเข้าถึงได้แล้วก็จะรู้ จะเข้าใจเอง แต่สำหรับคนฝึกใหม่ใจร้อน อยากรู้อยากเห็น อยากเป็น อยากทำได้ หลวงตาก็จะบอกว่าต้องเข้าใจคำว่้าจิตแรก จับจิตแรกให้ได้ จิตแรกนี่แหละจิตทิพย์

จิตแรกที่รับรู้อารมณ์ที่กระทบ อันต่างจากจิตปกติที่กำลังดำเนินไป จิตนั้นถ้าจับได้ก็เป็นจิตทิพย์ ที่นำส่งสภาวะรับรู้มาสู่จิตเรา ถ้าฝึกฝนมาตามแบบที่หลวงตาแนะนำไว้ คือไม่รู้นำ ให้รู้ตาม การปรุงแต่งก็จะลดน้อยลง ฝึกมาก ที่สุดก็หยุดปรุงแต่งได้ ถ้าฝึกฝนแบบนี้ เมื่อจิตแรกเกิด แล้วปล่อยให้จิตนั้นดำเนินไปตามครรลองของมันจนกว่าจะสิ้นสุดกาล เราก็จะสามารถสื่อสารกับจิตได้ จิตแรกที่เป็นทิพย์นี้ จะขาดตอนทันที่ที่มีการปรุงแต่งเกิดขึ้นในจิต ผู้ฝึกฝนใหม่อาจจะไม่ทัน คิดว่าไม่ได้ปรุงแต่ง แท้จริงมันปรุงแต่งไปนานแล้ว แต่ตัวเจ้าของไม่อาจจับได้ จึงไม่รู้ตัวว่าได้ปรุงแต่งไปนานแล้ว สภาวะจิตที่จะรับรู้จึงสับสนวุ่นวาย ไม่รู้ว่า ไหนจริง ไหนปรุงแต่ง

ลองฝึกดูนะ ไม่ยาก ไม่ง่าย เพียงแค่คายกิเลสออกเสียบ้างเพียงเล็กน้อย เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จริงๆ แค่นิดเดียว โลภ โกรธ หลง พิจารณาให้แจ้ง ก็ละได้อย่างไม่ยาก แล้วที่ยากๆ ก็จะง่าย ง่ายนิดเดียวจริงๆ

บุญรักษา


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
หลวงตากิตติญาโณ

Last Edit: 2014/10/15 17:27 By admin.
Reply Quote
 
#287
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 9 ปี, 6 เดือน ก่อน  
จิตกับใจ เกี่ยวข้องอย่างไรกับ สติและสัมปชัญญะ

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลวงตาได้มีโอกาสไปค้างที่บ้านคุณอดิศักดิ์ ตันตาปกุล ผู้มีจิตเอื้อเฟื้อ และใฝ่ศึกษาธรรมอย่างยิ่งท่านหนึ่ง

เดินทางถึงประมาณสองทุ่ม พักสักครู่ คุณอดิศักดิ์ก็ตั้งกระทู้ถามปัญหาธรรมอย่างจดจ่อสงสัย และต้องการความกระจ่างอย่างกระตือรือร้นยิ่ง เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้หลวงตาจึงได้แจงธรรมข้อที่สงสัยให้ฟังเพื่อความกระจ่าง

เรื่อง จิต กับ ใจ และ สติ กับ สัมปชัญญะ

อันที่จริง ถ้าเราท่านทั้งหลายได้ศึกษาธรรมมาบ้างเพียงเล็กน้อย และท่องจำภาษิตได้ ใช้สติตั้งให้มั่น แล้วทำการวินิจฉัยสักนิด ก็จะเข้าใจธรรมต่างๆ ได้โดยไม่ยากนัก เช่น ภาษิตที่ว่า "ธรรมทั้งหลายเกิดแต่ใจเป็นหัวหน้า" ความหมายคือ ธรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นฝักฝ่ายข้างดีคือฝ่ายกุศลหรือที่เป็นฝ่ายบุญ และฝักฝ่ายข้างไม่ดีคืออกุศลหรือที่เป็นฝ่ายบาป ธรรมต่างๆ เหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ได้ ก็ล้วนแต่สำเร็จการมาจากความคิด คือ ใจ ดังที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า ใจคือความคิด

คำว่าธรรมทั้งหลาย ก็ได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า " ธรรมทั้งหลายรวมเรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ " การกำหนดรู้นั้นให้กำหนดรู้อย่างไร ก็ให้ "กำหนดรู้ในสัณฐานและสังขาร " ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ในหนึ่งตัวสัตว์ที่มีรูปและนาม ครบด้วยขันธ์ห้าในวัฏฏสงสารของตน รวมเรียกว่าธรรม คือเป็นธรรมชาติอันเป็นปกติของสัตว์นั้นๆ สิ่งที่ประกอบกันขึ้นมาทั้งหมดที่เป็นธรรมชาติของตน รวมแล้วก่อทุกข์ทั้งสิ้น

ก็แล้วทำไมถึงบอกว่าล้วนก่อทุกข์ทั้งสิ้น จะไม่กล่าวผิดความเป็นจริงหรือ ใครๆในที่ไหนๆ ใช่ว่าจะมีแต่ทุกข์ มันมีทั้งสุขคลุกเคล้าปนอยู่ด้วย ดูอย่างคนมั่งมีสิ ได้จับจ่ายใช้สอยตามอำเภอใจ อยากได้อะไรก็ล้วนสามารถหามาได้ทั้งสิ้น ใช่ ล้วนเป็นสุขทั้งสิ้น ก็แล้วเมื่อคราวครั้งที่ไม่ได้อย่างใจละ เคยหยุดหรือคิดพิจารณาก่อนไหมว่ามันจะไม่ได้ดั่งใจ แล้วขณะที่คิดพิจารณานั้น มันเป็นช่วงสุขหรือช่วงทุกข์ ก่อนที่จะวางได้ หรือมันจะเป็นช่วงที่ทุกข์หนักหนา ต้องดิ้นรนไขว่คว้าให้ได้ วางไม่ได้ก็ต้องก่อกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกุศลเพื่อให้สมบูรณ์ หรือจะเป็นฝ่ายอกุศลสำหรับชาวพาลทั้งหลาย ล้วนต้องสร้างกรรมไปตามธรรมชาติของสัตว์นั้นๆ ทั้งสิ้น

แต่สำหรับผู้เป็น "บัณฑิต" คือผู้ที่เข้าใจแล้ว สามารถกำหนดรู้ได้แล้วทั้งสัณฐานและสังขาร จึงจะเป็นผู้ที่ไม่ทุกข์ในที่สุด

อาจจะเข้าใจยาก หลวงตาจะอธิบายให้ง่ายที่สุด คำว่า สังขาร ในที่นี้ ไม่ใช่แบบโลกที่หมายความถึงรูปทรง แต่เป็นสังขารแบบธัมม(ธรรมะ) ที่หมายเอาว่าเป็นการ " ปรุงแต่ง " ปรุงแต่งอะไร ก็ปรุงแต่งอารมณ์อันเกิดแต่ธรรมร้อยแปดประการดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่า ธรรมร้อยแปดนั้น เกิดจาก กรรมสาม กาลสาม และอายตนะสิบสอง

ส่วนคำว่า สัณฐาน ทางธัมม หลวงตาหมายถึง องค์ประกอบทั้งหมดของกรรม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุญหรือบาป ล้วนมีองค์ประกอบทั้งสิ้น ยิ่งสามารถแยกองค์ประกอบของกรรมได้ละเอียดมากเท่าไร ก็ยิ่งจะพ้นทุกข์ได้เร็วเท่านั้น เมื่อนำเอาสัณฐานและสังขารมาพิจารณาอย่างละเอียด ก็จะเห็นธัมมได้ละเอียดมากยิ่งๆ ขึ้น

เอาละ โหมโรงมาพอให้เข้าใจ หรือวุ่นวายใจก็ตาม ก็ขอให้ค่อยๆ เรียนรู้แก้ไขกันไป ตามแต่วาสนาอันเป็นบุพกรรมของแต่ละตัวสัตว์ ไม่อาจแทรกแซงได้ เอาว่าได้อธิบายขยายความอันเป็นเบื้องต้นให้แล้ว ต่อไปก็จะเข้าเรื่อง จิตกับใจ และ สติกับสัมปชัญญะ

การทำงานของจิตกับใจนั้น จะพูดให้ง่ายก็คือ เป็นธรรมชาติของสัตว์ในขั้นตอนของการเรียนรู้ โดยจะโยงเข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ที่มองเห็นได้ชัด คือด้านนำเข้าของข้อมูล เป็นการสื่อสารแบบฟูลดูเพล็กซ์ (Full Duplex Communication) คือการที่อุปกรณ์อย่างน้อยสองชิ้น ทำการสือสารแบบเต็มรูปแบบ ต่อเนื่องไม่ขาดตอน เหมือนการพูดคุยกันตรงหน้า มีทั้งการได้ยิน การตอบโต้ การแสดงสีหน้า แววตา อารมณ์ เป็นต้น เมื่อมองไปที่อายตนะทั้งสิบสอง จะเห็นว่าแบ่งเป็นภายในหกและภายนอกหก

ภายในหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(ความคิด) ภายนอกหก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์(ธัมมารมณ์) เมื่อมาดูคำว่าใจ คือส่วนคิด คือกลไกของสมอง เที่ยบกับคอมพิวเตอร์คือส่วนของ CPU (Central Unit Processor) ที่เป็นสมองกล แล้วอารมณ์ละมาจากไหน

ในเมื่อตาเห็นรูป หูรับรู้เสียง จมูกรับรู้กลิ่น ลิ้นรับรู้รส กายรับรู้สัมผัส จึงเหลือใจกับอารมณ์ ใจบอกแล้วว่าเป็นส่วนคิด อารมณ์หรือเรียกให้เต็มว่า ธัมมารมณ์ ก็น่าจะแตกต่างกับใจที่เป็นส่วนคิด จากคำสอนที่ว่า จิตเป็นตัวรู้อารมณ์ นั่นแน่ มาอีกตัวแล้ว อารมณ์ ก็เมื่อตาเห็นรูป หูรู้เสียง จมูกรู้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายรู้สัมผัส อวัยวะทั้งห้าทำการสื่อสารกันโดยมีใจเป็นหัวหน้า

อ๊ะ ใจเป็นหัวหน้า เคยรับรู้เรียนมาแล้วก่อนนี่้ว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่ใจเป็นหัวหน้า อ๋อ นี่ไงหัวหน้า อยู่นี่เอง มันสื่อสารกันทั้งห้าส่วนโดยมีเจ้าใจนี่แหละเป็นตัวเชื่อมโยง ก็ถ้ามันเชื่อมโยงกันไห้มาแล้ว มันจะเป็นอย่างไรละ เอาละ มามองกันที่คอมพิวเตอร์ ในเมื่อจะบอกว่านี่มันระบบอะไร ถ้ามีเพียงแค่อุปกรณ์ต่างๆ แต่ไม่มีระบบปฏิบัติการ OS (Operating System) จะเป็นของบริษัทใดก็ตาม จะยกรุ่นพัฒนากันมามากมายอย่างไร ก็ล้วนแต่ต้องมีข้อมูลของการพัฒนา เฉกเช่นกับมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ที่เรียนรู้มามาก สั่งสมความรู้มามาก ก็ต้องมีที่เก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์อาศัยฮาร์ดดิสค์เป็นที่เก็บข้อมูล จะรู้ว่าเป็นเผ่าพันธ์ุอะไร ก็มีตัวระบบปฏิบัติการเป็นตัวชี้บอก

มนุษย์สัตว์ทั้งหลายก็มีที่เก็บข้อมูล จะรู้ว่าเป็นเผ่าพันธ์ุอะไรก็อาศัยการกระทำเป็นตัวชี้บอกเช่นกัน ส่วนที่สั่งสมเก็บข้อมูลนั้นก็คือส่วนจิตที่รับรู้ โดยผ่านขบวนการรับรู้จากอวัยวะทั้งห้า ผ่านการคิดปรุงแต่งของส่วนสมองคือใจ แล้วสรุปเป็นข้อมูลทีละระดับเก็บบันทึกไว้แล้วในจิต(เรื่องนี้ก็เขียนแล้ว ลองหาอ่านดู)

เอาละ สนุกมากขึ้นแล้วละ ในเมื่อมีจิตอีกตัวเข้ามา จึงรวมได้ครบอายตนะสิบสอง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่เป็นส่วนของภายในร่างกายหกอย่าง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธัมมารมณ์ ถูกวางไว้เป็นส่วนของภายนอกหกอย่าง เอ..ในเมื่อบอกว่าอารมณ์คือจิต ก็แล้วจิตไม่ได้อยู่ในร่างกายหรือ อื่มม์ จิตไม่ได้อยู่ในร่างกายหรือ

จะว่าอยู่ก็ใช่ จะว่าไม่อยู่ก็ใช่ ลองมองดูนะแล้วค่อยตัดสินเอาเอง การที่อวัยวะทั้งห้าจะรับรู้อะไรอย่างไร ก็ต้องอาศัยส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองคือใจ คือความคิด อาศัยอะไรหรือ ก็อาศัยประสาทรับรู้ที่เป็นส่วนปลายสุดที่มีอยู่ทั่วร่างกายไง ที่ดวงตาเรียกว่า จักขุวิญญาน ที่ลิ้นเรียกว่า ชิวหาวิญญาน ที่จมูกเรียกว่า ฆานวิญญาน ที่หูเรียกว่า โสตวิญญาน ที่ร่างกายทั้งหมดเรียกว่า กายวิญญาน ก็เจ้า วิญญาน นี้ละที่ทำความเข้าใจผิดกันมากมายใหญ่หลวง ถูกกล่าวหาว่า เป็นสิ่งชั่วร้ายบ้าง เป็นสิ่งดีบ้าง เป็นผีสางนางไม้ เป็นอะไรต่อมิอะไรมากมาย ล้วนเข้าใจกันอย่างคลาดเคลื่อนจากหลักธัมม วิญญานทั้งหลาย ก็คือ ประสาทรับรู้ทั้งหลายในส่วนต่างๆ ของร่างกาย นำไปประมวลในศูนย์กลางคือสมองที่เป็นส่วนคิดส่วนปรุงแต่ง แล้วแปลแปลงเป็นอารมณ์ แปลแปลงเป็นอารมณ์แล้วเก็บจำไว้ในจิต จิตนี้จะไม่ทำการใดๆทั้งสิ้นถ้าไม่มีสิ่งเร้ามากระตุ้น เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่อเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น อารมณ์จึงเกิด เมื่อเกิดก็เริ่มถ่ายทอดสิ่งที่เก็บจำมาจากการปรุงแต่ง ส่งต่อเข้าไปในส่วนต่างๆ ไปกระตุ้นให้ส่วนสมองที่เป็นศูนย์คิดทำการปรุงแต่ง ก่อเกิดเป็นสายอารมณ์ที่ไม่สิ้นสุด จากที่มีอยู่เดิมเมื่อกระทบใหม่ปรุงแต่งเพิ่ม ก็ทับถมเป็นของใหม่พอกพูนกันอย่างไม่ยอมสิ้นสุด

เมื่อไม่รู้เท่าทันอารมณ์ ก็ตกเป็นทาสของอารมณ์ เราเรียกการตกเป็นทาสนี้ว่า " ขาดสติ" เมื่อควบคุมไม่ได้เพราะขาดสติ จึงสูญสิ้นความสามารถในการคิด ไม่สามารถควบคุมอวัยวะทั้งหลายได้ เราเรียกอาการนี้ว่า สูญสิ้นสัมปชัญญะ คือไม่สามารถควบคุมการกระทำได้ ส่งผลมากมายแล้วแต่ธรรมชาติของสัตว์แต่ละตัวตน

เอาละ มาถึงตรงนี้แล้ว มองเห็นหรือยังว่า จิตกับใจ และ สติกับสัมปชัญญะ ทำงานอย่างไร ทั้งสองชุดนี้สื่อสารกันแบบฟูลดูเพล็กซ์ เป็นฝ่ายนำเข้าเรียกว่าจิต กับใจ เมื่อทำงานเป็นฝ่ายส่งออก คือ กระทำ แก้ไขการกระทำ ปรับปรุงพัฒนา ฯลฯ

ในช่วงนำเข้า ถ้าปล่อยให้ไหลตามก็คือขาดสติ สมองคือใจก็เริ่มปรุงแต่งไร้ขอบเขต ก็ขาดสัมปชัญญะ ต่อเมื่อเข้าใจใช้จิตตามรู้ด้วยความมีสติตั้งมั่น สมองคือใจที่ทำการปรุงแต่งก็มีระบบขอบเขต ไม่รู้นำก็ไม่ปรุงแต่ง เรียกว่าสัมปชัญญะสมบูรณ์ จึงเกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจถ่องแท้ ขบวนการสื่อสารสมบูรณ์ก็เกิดขึ้นอย่างไร้ขอบเขต เกิดเป็นพลังงานที่มีอำนาจมาก เหตุเพราะดำเนินกันไปอย่างไม่ขัดแย้ง ยิ่งดำเนินยิ่งแกร่งกล้า ถ้ามีความพร้อมในทุกด้านที่เรียกว่า มรรคสมังคี ย่อมเข้าถึงซื่งองค์ความรู้ทั้งหลายที่ปรารถนาได้โดยไม่ยาก

สรุปได้ตามความเห็นของหลวงตา ตามขั้นตอนที่อธิบายมาแล้วนั้น จิตก็คือสติ สติก็คือจิต ส่วนใจก็คือสัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็คือใจ เมื่อจะทำอะไร ถ้าจิตใจเป็นปกติ สติสัมปชัญญะก็เป็นปกติ เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น แล้วขาดสติ จิตที่สั่งสมความรู้ ก็ไม่สามารถสื่อสารกับใจที่เป็นสมอง ทำหน้าที่ควบคุมร่างกายก็ขาดตอนไม่ทำงาน สัมปชัญญะคือความพร้อมของร่างกายที่จะกระทำการต่างๆ ตามคำสั่งก็สิ้นสุด ขาดการควบคุมสูญสิ้นความพร้อม

เข้าใจมากน้อยเพียงไร อ่านแล้วสงสัยประการใด ก็ให้ตั้งคำถามมา แล้วหลวงตาจะได้แจงให้ตามจุดที่สงสัย เป็นการเพิ่มพูนสติปัญญาด้วยกันทุกฝ่าย การพิมพ์ผิดถูกและสะกดไม่ตรงตามหลักภาษาไปบ้าง ก็ต้องขออภัย ไม่มีเวลาตรวจทาน ถ้าผู้รู้จะทำการแก้ไข ก็จะขอบใจอย่างยิ่ง

บุญรักษา


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
หลวงตากิตติญาโณ

Last Edit: 2014/11/17 10:04 By admin.
Reply Quote
 
#288
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 9 ปี, 6 เดือน ก่อน กรรม: 0
กราบเท้าขอบพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างสูงครับ ที่ได้เมตตาอธิบายให้ความกระจ่างทุกคำถามอันเป็นข้อสงสัยของกระผมและผู้สนใจในธรรมตลอดมา


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
admin
ผู้ดูแลระบบ
กระทู้: 46
graph
สมาชิกที่ไม่ได้ออนไลน์ Click here to see the profile of this user
Last Edit: 2014/11/07 17:56 By admin.
Reply Quote
 
#321
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 6 ปี, 10 เดือน ก่อน  
ผมได้อ่านหนังสือ
ฝึกหัดสมาธิโดยบริกรรมพุทโธ
ของ
พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์

( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )

แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

ผมชอบมากอ่านแล้วมีความรู้ดี โดยเฉพาะขั้นตอนทดสอบให้รู้ว่าจิตกับใจแท้ๆนั้นมันเป็นยังไง อะไรคือตัวจิต อะไรคือตัวใจ เพราะทุกคนสามารถทดสอบได้ง่ายๆก่อนที่เราจะนำไปปฏิบัติสมาธิ

ก่อนจะฝึกหัดสมาธิหลวงปู่ท่านบอกว่า พึงทำความเข้าใจถึงจิตกับใจเสียก่อน ว่า จิต กับ ใจ มิใช่อันเดียวกัน


เกิดมาเป็นคนหรือสัตว์แล้ว ใครๆ ก็มีจิตใจด้วยกันทุกคน แต่ จิต และ ใจ นี้ มันทำหน้าที่ต่างกัน

จิต เป็นผู้นึกคิดนึกปรุงแต่งสัญญาอารมณ์สรรพสิ่งทั้งปวง มันให้คิดนึก ให้ส่งส่าย และปรุงแต่งไปต่างๆ นานา สารพัดร้อยแปดพันเก้า แล้วแต่กิเลสมันจะพาไป

ส่วน ใจ นั้น คือ ผู้รู้อยู่เฉยๆ ไม่นึกคิด ไม่ปรุงแต่งอะไรทั้งหมด อยู่เป็นกลางๆ ในสิ่งทั้งปวง ตัวผู้รู้อยู่เป็นกลางๆ นั่นแหละ คือ ใจ


ใจ ไม่มีตัวตนเป็นนามธรรม เป็นแต่ผู้รู้เฉยๆ เราจะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ไม่ได้อยู่ในกายหรือนอกกาย ที่เรียกหทัยวัตถุว่า หัวใจ นั้น ไม่ใช่ใจแท้ เป็นแต่เครื่องฉีดเลือดให้วิ่งไปทั่วร่างกาย แล้วยังชีวิตให้เป็นอยู่เท่านั้น ถ้าหัวใจไม่ฉีดเลือดให้เดินไปทั่วร่างกายแล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดำรงอยู่ไม่ได้

แต่ใจในที่นี้ เป็นผู้นิ่งอยู่เฉยๆ เพียงแต่รู้ว่านิ่งอยู่เฉยๆ ไม่มีคิดนึกปรุงแต่งอะไร ใจ คือ ผู้เป็นกลาง วางเฉย ไม่คิดนึกอะไรทั้งสิ้น เป็นแต่รู้ตัวอยู่ว่าวางเฉย ใจเป็นธรรมชาติเป็นกลางแท้ กลางไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบุญหรือบาป ไม่ดีและไม่ชั่วนั้นเรียกว่า ใจ สิ่งทั้งปวงหมด ถ้าพูดถึงใจแล้ว จะต้องหมายเอาตรงใจกลางทั้งนั้น แม้แต่ใจของคนซึ่งเป็นนามธรรม ก็ต้องชี้เข้าไปที่ท่ามกลางอก แต่ใจแท้ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน เราเอาความรู้สึกไปไว้ในกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ลองดูซิ จะรู้สึกขึ้นในที่นั้น หรือเอาความรู้สึกนั้นไปไว้ภายนอกกาย เป็นต้น ว่า เอาไปไว้ที่เสาหรือที่ฝาผนังบ้าน ก็จะมีความรู้สึกอยู่ ณ ที่นั้น
เป็นอันสรุปได้ว่า ใจแท้ คือ ความรู้สึกเฉยอยู่เป็นกลางๆ เมื่อมีความรู้สึกกลางๆ อยู่ ณ ที่ใด ใจก็อยู่ ณ ที่นั้น

จิต และ ใจ ก็อันเดียวกันนั่นแหละ แท้จริง พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัส เทศนาไว้แล้วว่า จิตอันใด ใจก็อันนั้น ถ้าไม่มีใจ จิตก็ไม่มี จิตเป็นอาการ ใจไม่มีอาการ
แต่จิต กับ ใจ มันมีลักษณะอาการต่างกันเท่านั้น จิต ได้แก่ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง และสัญญา อารมณ์ต่างๆ ตลอดถึงไปยึดเอาสิ่งต่างๆ มาไว้ที่จิต จิตเมื่อเห็นโทษทุกข์ทั้งหลาย ที่ยึดเอากิเลสทั้งปวงมาไว้ที่จิตของตน แล้ว ยอมสละถอนจากอารมณ์และกิเลสทั้งปวงจากจิต จิต นั้นก็เป็น ใจ จิต กับ ใจ มีลักษณะอาการต่างกันอย่างนี้

เปรียบเหมือนแม่น้ำกับคลื่นของแม่น้ำ เมื่อคลื่นสงบแล้ว จะยังเหลือแต่แม่น้ำอันใสแจ๋วอยู่อย่างเดียว
เมื่อรู้ว่า จิต และ ใจ มีหน้าที่และลักษณะต่างกันอย่างนี้แล้ว ก็จะฝึกจิตได้ง่ายขึ้น การฝึกหัดอบรมสมาธิเราฝึกหัดแต่เฉพาะจิตอย่างเดียวก็พอแล้ว เมื่อฝึกจิตได้แล้วก็จะเห็นใจขึ้นมาในที่นั้นเอง

ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนทดสอบให้รู้ว่าจิตกับใจแท้ๆนั้นมันเป็นยังไง
หลวงปู่ท่านบอกว่า

เพื่อให้เข้าใจชัดเข้าอีก ทดลองดูก็ได้ พึงอัดลมหายใจเข้าไปสักพักหนึ่งดู.....ในที่นั้นจะไม่มีอะไรเลย นอกจากผู้รู้เฉยอย่างเดียว นั่นแหละ ใจ คือ ผู้รู้ แต่การจับ ใจ อย่างนี้ จะอยู่ไม่นาน อยู่ได้ชั่วขณะที่กลั้นลมหายใจเท่านั้น แต่ทดลองดูเพื่อให้รู้จักว่า ใจ แท้มีลักษณะอย่างไรเท่านั้น

การกลั้นลมหายใจนี้ทำให้ทุกขเวทนาเบาบางลงบ้าง ผู้มีเวทนามากๆ จะต้องกลั้นลมหายใจด้วยตนเองเป็นประจำเป็นยาแก้ปวด หายปวดได้ขนานหนึ่ง ดีเหมือนกัน

ให้พี่ๆและเพื่อนๆลองทดสอบทำดูนะครับทำครั้งแรกบางท่านอาจจะยังไม่รู้ ให้ลองทำหลายๆครั้ง ผมลองทำดูครั้งแรกเหมือนใจจะขาดเพราะใจรู้สึกได้นั่นแหละตัวใจแต่ถ้ารู้มากกว่านั้นคือจิต


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
สังคม

Reply Quote
 
#322
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 6 ปี, 10 เดือน ก่อน  
สังคม อ้างอิงข้อความ:
[quote

กราบนมัสการหลวงตากิติญาโณ ขอรับ
และขอขอบคุณ admin ที่ได้ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ทำให้ผู้มีความสงสัยใคร่รู้ว่าจิตกับใจนั้น ต่างกันอย่างไรหรือจิตกับใจนี้เป็นอันเดียวกันหรือไม่ ผมได้มีโอกาสเข้ามาอ่านถึงจะช้าไปสักหน่อย ถือได้ว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกสำหรับหลายๆคน
ผมขออนุญาตินำบทความมาแบ่งปันด้วยคนนะครับเพื่อเป็นธรรมทาน

]ผมได้อ่านหนังสือ
ฝึกหัดสมาธิโดยบริกรรมพุทโธ
ของ
พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์

( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )

แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

ผมชอบมากอ่านแล้วมีความรู้ดี โดยเฉพาะขั้นตอนทดสอบให้รู้ว่าจิตกับใจแท้ๆนั้นมันเป็นยังไง อะไรคือตัวจิต อะไรคือตัวใจ เพราะทุกคนสามารถทดสอบได้ง่ายๆก่อนที่เราจะนำไปปฏิบัติสมาธิ

ก่อนจะฝึกหัดสมาธิหลวงปู่ท่านบอกว่า พึงทำความเข้าใจถึงจิตกับใจเสียก่อน ว่า จิต กับ ใจ มิใช่อันเดียวกัน


เกิดมาเป็นคนหรือสัตว์แล้ว ใครๆ ก็มีจิตใจด้วยกันทุกคน แต่ จิต และ ใจ นี้ มันทำหน้าที่ต่างกัน

จิต เป็นผู้นึกคิดนึกปรุงแต่งสัญญาอารมณ์สรรพสิ่งทั้งปวง มันให้คิดนึก ให้ส่งส่าย และปรุงแต่งไปต่างๆ นานา สารพัดร้อยแปดพันเก้า แล้วแต่กิเลสมันจะพาไป

ส่วน ใจ นั้น คือ ผู้รู้อยู่เฉยๆ ไม่นึกคิด ไม่ปรุงแต่งอะไรทั้งหมด อยู่เป็นกลางๆ ในสิ่งทั้งปวง ตัวผู้รู้อยู่เป็นกลางๆ นั่นแหละ คือ ใจ


ใจ ไม่มีตัวตนเป็นนามธรรม เป็นแต่ผู้รู้เฉยๆ เราจะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ไม่ได้อยู่ในกายหรือนอกกาย ที่เรียกหทัยวัตถุว่า หัวใจ นั้น ไม่ใช่ใจแท้ เป็นแต่เครื่องฉีดเลือดให้วิ่งไปทั่วร่างกาย แล้วยังชีวิตให้เป็นอยู่เท่านั้น ถ้าหัวใจไม่ฉีดเลือดให้เดินไปทั่วร่างกายแล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดำรงอยู่ไม่ได้

แต่ใจในที่นี้ เป็นผู้นิ่งอยู่เฉยๆ เพียงแต่รู้ว่านิ่งอยู่เฉยๆ ไม่มีคิดนึกปรุงแต่งอะไร ใจ คือ ผู้เป็นกลาง วางเฉย ไม่คิดนึกอะไรทั้งสิ้น เป็นแต่รู้ตัวอยู่ว่าวางเฉย ใจเป็นธรรมชาติเป็นกลางแท้ กลางไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบุญหรือบาป ไม่ดีและไม่ชั่วนั้นเรียกว่า ใจ สิ่งทั้งปวงหมด ถ้าพูดถึงใจแล้ว จะต้องหมายเอาตรงใจกลางทั้งนั้น แม้แต่ใจของคนซึ่งเป็นนามธรรม ก็ต้องชี้เข้าไปที่ท่ามกลางอก แต่ใจแท้ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน เราเอาความรู้สึกไปไว้ในกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ลองดูซิ จะรู้สึกขึ้นในที่นั้น หรือเอาความรู้สึกนั้นไปไว้ภายนอกกาย เป็นต้น ว่า เอาไปไว้ที่เสาหรือที่ฝาผนังบ้าน ก็จะมีความรู้สึกอยู่ ณ ที่นั้น
เป็นอันสรุปได้ว่า ใจแท้ คือ ความรู้สึกเฉยอยู่เป็นกลางๆ เมื่อมีความรู้สึกกลางๆ อยู่ ณ ที่ใด ใจก็อยู่ ณ ที่นั้น

จิต และ ใจ ก็อันเดียวกันนั่นแหละ แท้จริง พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัส เทศนาไว้แล้วว่า จิตอันใด ใจก็อันนั้น ถ้าไม่มีใจ จิตก็ไม่มี จิตเป็นอาการ ใจไม่มีอาการ
แต่จิต กับ ใจ มันมีลักษณะอาการต่างกันเท่านั้น จิต ได้แก่ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง และสัญญา อารมณ์ต่างๆ ตลอดถึงไปยึดเอาสิ่งต่างๆ มาไว้ที่จิต จิตเมื่อเห็นโทษทุกข์ทั้งหลาย ที่ยึดเอากิเลสทั้งปวงมาไว้ที่จิตของตน แล้ว ยอมสละถอนจากอารมณ์และกิเลสทั้งปวงจากจิต จิต นั้นก็เป็น ใจ จิต กับ ใจ มีลักษณะอาการต่างกันอย่างนี้

เปรียบเหมือนแม่น้ำกับคลื่นของแม่น้ำ เมื่อคลื่นสงบแล้ว จะยังเหลือแต่แม่น้ำอันใสแจ๋วอยู่อย่างเดียว
เมื่อรู้ว่า จิต และ ใจ มีหน้าที่และลักษณะต่างกันอย่างนี้แล้ว ก็จะฝึกจิตได้ง่ายขึ้น การฝึกหัดอบรมสมาธิเราฝึกหัดแต่เฉพาะจิตอย่างเดียวก็พอแล้ว เมื่อฝึกจิตได้แล้วก็จะเห็นใจขึ้นมาในที่นั้นเอง

ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนทดสอบให้รู้ว่าจิตกับใจแท้ๆนั้นมันเป็นยังไง
หลวงปู่ท่านบอกว่า

เพื่อให้เข้าใจชัดเข้าอีก ทดลองดูก็ได้ พึงอัดลมหายใจเข้าไปสักพักหนึ่งดู.....ในที่นั้นจะไม่มีอะไรเลย นอกจากผู้รู้เฉยอย่างเดียว นั่นแหละ ใจ คือ ผู้รู้ แต่การจับ ใจ อย่างนี้ จะอยู่ไม่นาน อยู่ได้ชั่วขณะที่กลั้นลมหายใจเท่านั้น แต่ทดลองดูเพื่อให้รู้จักว่า ใจ แท้มีลักษณะอย่างไรเท่านั้น

การกลั้นลมหายใจนี้ทำให้ทุกขเวทนาเบาบางลงบ้าง ผู้มีเวทนามากๆ จะต้องกลั้นลมหายใจด้วยตนเองเป็นประจำเป็นยาแก้ปวด หายปวดได้ขนานหนึ่ง ดีเหมือนกัน

ให้พี่ๆและเพื่อนๆลองทดสอบทำดูนะครับทำครั้งแรกบางท่านอาจจะยังไม่รู้ ให้ลองทำหลายๆครั้ง ผมลองทำดูครั้งแรกเหมือนใจจะขาดเพราะใจรู้สึกได้นั่นแหละตัวใจแต่ถ้ารู้มากกว่านั้นคือจิต[/quote]


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
สังคม

Reply Quote
 
#329
Re: จิตกับใจ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 6 ปี, 9 เดือน ก่อน  
ได้อ่านบทความที่คุณสังคมยกมาให้อ่านในที่นี้ ยินดีมากที่ได้ช่วยกันทำความกระจ่างให้ผู้ใฝ่ศึกษาได้เพิ่มพูนปัญญากัน ขออนุโมทนากับจิตใจอันดีงาม

"จิตเป็นพลังงานรูปหนึ่ง มีอำนาจ สร้างรูปได้ ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำ"

ดังที่ได้ตอบคำถามของท่านผู้หนึ่งที่ถามไว้ในบอร์ดถามตอบ ว่า เท่าที่ศึกษาคำสอนพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวกับ จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญานบ้าง ผู้ถามมีความเข้าใจว่า ทั้งสามคือ จิต มโน วิญญาณ ก็คือสิ่งเดียวกัน โดยยกตัวอย่างพุทธพจน์ในเรื่องนี้ว่า พระองค์ยกตัวอย่างเรื่องลิงฯ

เพื่อความกระจ่างโดยไม่ต้องตีความให้ยากมันจะผิดความเป็นจริงที่พระองค์ได้ยกตัวอย่างเรื่องลิง ก็เพราะชาวบ้านเห็นลิงห้อยโหนโจนทะยานอยู่ทุกวี่วัน คนยุคนั้นเข้าใจเรื่องธรรมชาติมากกว่าคนยุคนี้

มองที่ลิงใหญ่ก็คงไม่เห็นอะไรชัดเจน ถ้ามองที่ลิงเล็ก ลูกลิง ก็จะเห็นชัดเจนขึ้น ลูกลิงได้เห็น เห็นว่าการห้อยโหนโจนทะยานนั้นต้องทำอย่างไร ได้ยิน ได้ยินเสียงสั่งสอนของบรรดาผู้ใหญ่ว่า ต้องเกาะไม้ชนิดไหน ไม้เล็กไม้ใญ่ ไม้สดไม้แห้ง เสียงลั่นของไม่มันต่างกัน ได้กลิ่น เกาะแม่อยู่นานกลิ่นต่างๆก็รับรู้พอสมควร กลิ่นความสุขกลิ่นความทุกข์กลิ่นอันตรายล้วนพอมีประสพการณ์มาบ้าง ได้รส อาหารรสชาดที่หอมหวานน่ากินน่าเสพมันเป็นอย่างไรอยู่ที่ไหนรู้แล้ว ได้สัมผัส เย็นร้อนอ่อนแข็ง เจ็บไม่เจ็บฯ ล้วนได้สัมผัสมาบ้างทางร่างกายที่มีปลายประสาทรับรู้อยู่ทั่วไปหมด ทั้งทางตาคือจักษุวิญญาณ ทั้งทางหูคือโสตวิญญาณ ฯ

จึงพอจะเข้าใจได้ตามความเป็นวิทยาว่า วิญญาณที่กล่าวถึงนี้คือ ปลายประสาทสัมผัสทั้วทั้งร่างกาย แล้วส่งไปที่สมองอันเป็นศูนย์รวมของการรับรู้ทั้งหมด สมองไม่ได้ทำหน้าที่รับรู้อย่างเดียว มันยังทำหน้าที่รวบรวมประมวลสิ่งที่รับรู้ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์แล้วแยกแยะบันทึกจำไว้ ทั้งหมดนี้คือใจ คือส่วนสมองทั้งหมดที่มีหน้าที่ คิดจำเปรียบเทียบและบันทึกไว้ในส่วนต่างๆ ใจ หรือจะเรียกทางสรีระก็คือสมอง จึงไม่เคยหลับ มันทำหน้าที่ทั้งวันทั้งคืน เรารู้กันในภาษาธัมมว่า "มโน" มันเป็นศูนย์กลาง มันไม่ได้อยู่เฉย มันเป็นผู้รับรู้ เป็นผู้ประมวลองค์ความรู้ทั้งหมดที่กายหลังนี้เรียนรู้มา ดั่งพุทธสอน "อาศัยกายเป็นที่เรียนรู้" เมื่อไรที่มันสั่งการ มันสั่งการเป็นรูปของพลังงาน แปรเปลี่ยนสสารทั้งหลายทั่วทั้งกายให้ไปบังคับปลายประสาททั้งหมดทำงาน

ตัวอย่างเช่นคนที่โกรธ หน้าจะเข้ม ตากร้าว ปากเม้ม จมูกตึง หูผึ่ง กายตึงเครียด แสดงออกทั้ง กาย วาจา ใจ พลังงานที่ปรากฏนี้เรียกทางธัมมว่า จิต การแสดงออกทั้งหมดก็คือพลังของจิต จิดดีก็แสดงดี จิตไม่ดีก็แสดงไม่ดี จึงเรียกกันอีกอย่างว่า พลังจิตบ้าง จิตานุภาพ อำนาจจิต เป็นต้น

หวังว่าคงเข้าใจเรื่อง จิต กับ ใจ ว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไรในเชิง วิทยา คำสอนของ พุทธ เป็นวิทยา ไม่ใช่เชื่ออย่างงมงาย เชื่อเพราะเป็นครู พุทธ ไม่บังคับให้เชื่อ แต่จะบอกว่า อย่าเชื่อจนกว่าจะพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง ความรู้ ความสามารถ สติปัญญา องค์รู้ทั้งหลาย ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น ผู้ศึกษาสมควรนำเอาองค์รู้ทั้งหลายมาวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อเพิ่มพูนปัญญาให้แก่ตน อย่างมงาย อย่าเชื่อ จนกว่าจะได้พิสูจน์ด้วยตนเอง

เคยเขียนไว้ คำสอนของพระพุทธสาสดาเป็นวิทยาศาสตร์ เทียบเอาจากการศึกษาวิทยาศาสตร์ในยุคนี้ ลองเข้าไปอ่านดู และ บทความนี้ คงพอจะขยายความของ สี่วลีที่หลวงตาสอนมานาน จนมีคนนำไปบอกต่อสอนต่อ ถูกบ้างผิดบ้าง ก็ขึ้นกับปัญญาของผู้นำไปถ่ายทอดบอกต่อ

"จิตเป็นพลังงานรูปหนึ่ง มีอำนาจ สร้างรูปได้ ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำ"

บุญรักษา
หลวงตากิตติญาโณ


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
LuongTa

Reply Quote
 
Go to top
ตอบกลับ
เริ่มหัวข้อใหม่
หน้า: 12