ไขปัญหาธรรมบนเว็บบอร์ด

ยินดีต้อนรับ, ผู้เยี่ยมชม
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน.    ลืมรหัสผ่าน?

ภัยต่อพุทธศาสนา 4
(1 viewing) (1) ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
Go to bottom
ตอบกลับ
เริ่มหัวข้อใหม่
หน้า: 1
หัวข้อ : ภัยต่อพุทธศาสนา 4
#49
ภัยต่อพุทธศาสนา 4 13 ปี, 6 เดือน ก่อน  
ภัยต่อพุทธศาสนา 4

วันนี้เรามาต่อจาก ตอนที่3 เรื่อง ภัยต่อพุทธศาสนา

ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ ๓ พอมีเนื้อความว่า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดแล้ว ไม่เรียน เพียรเพ่งเร่งทำลายตัวตนของตนเองแล้ว ย่อมมีภัยต่อตนเองและผู้อื่น รวมถึงครูบาอาจารย์ด้วย นี่ก็มาจากความประมาทเป็นเหตุ

ทำไมถึงว่าประมาทละ ที่ว่าประมาทนั้น ก็นับว่าเบามากแล้วในภาษามนุษย์ที่สามารถเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ความจริงแล้ว ความประมาทนี้เองแหละ ที่ทำลายทุกสิ่ง ลองมองดูที่องค์ศีลทั้งห้าข้อ ที่เป็นศีลสำคัญที่จะบอกว่าเป็นมนุษย์ หรือว่าเป็นอย่างอื่นที่ต่ำกว่ามนุษย์ซิ

ศีลข้อที่หนึ่งกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับ ปานาติบาท คือการละเว้นการฆ่า ก็ถ้าเรามองย้อนไปที่ ธรรมเก้าประการอันเกิดแต่ความทะยานอยาก ที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วในตอนที่สาม จะเห็นได้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมมีความอยากได้ใคร่มีใคร่เป็น นี้เป็นธรรมดา บัณฑิต ย่อมทำลายความอยาก ได้โดยไม่ยาก ส่วน พาล หรือคนพาล นั้น ไม่มีความเพียรที่จะทำลายความอยากของตนเอง แต่ตรงข้ามกลับจะขวนขวายมาก มีความเพียรมาก ทะยานอยากมาก ที่จะทำให้ความอยากของตน สัมฤทธิ์ผลให้เร็วที่สุด แม้จะต้องถึงขั้นทำลายล้างกันก็ไม่เกรงกลัวต่ออาญาใดๆ นี้เป็นธรรมดา อันเกิดแต่อันมีความต่อเนื่องแต่เริ่มต้นจนครบตามขบวนการของธรรมทั้ง ๙ ประการ นี้เป็นธรรมดา ที่ว่าเป็นธรรมดานั้น ไม่ใช่ว่าเป็นอย่างนี้แล้วไม่ต้องจัดการแก้ไข ในผู้ที่อบรมตนเองจนถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นบัณฑิต มีเพียรเพ่งทำลายกิเลสคือความอยากในธรรมทั้งปวงที่มีอยู่เป็นธรรมดาในตน ย่อมสามารถระงับยับยั้งตนเอง ไม่ให้ประพฤติธรรม หรือจะเรียกว่าก่อกรรมอันเป็นธรรมดานี้ได้ โดยฝึกฝนอบรมบ่มนิสัยหรือที่เรียกว่าสันดาน หรือภาษาที่ไพเราะเสนาะหูก็คือ วาสนา ของตนเองแต่เยาว์วัย และต้องอบรมออย่างถูกต้องถูกวิธี ไม่ตะแบง ไม่เลี่ยงบาลี เหมือนอย่างนักบวชบางพวก บางคณะ อ้างความเมตตาต่อสัตว์ ด้วยการกล่าวว่าเปลี่ยนร่าง เปลี่ยนร่าง หลวงตาเคยได้ยินกับตนเอง ไม่รู้ว่าเรียนมาจากไหน ถ้าเป็นอย่างนี้ เรียกว่าคนพาล พาลย่อมไม่ขวนขวายมากในการทำลายกิเลส แต่ตรงข้าม จะมีความเพียรมาก ขวนขวายมากในการทำความชั่ว หรือประพฤติธรรมชั่ว มีความคิดวิปริตผิดมนุษย์ เห็นการฆ่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่เกรงต่ออาญาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นอาญาของมนุษย์ หรืออาญาธรรม อันเป็นบาปเวรที่ต้องชดใช้ไม่รู้จบ เพราะบาปเวรเหล่านั้นมันจะติดจิต ประทับไว้แล้วอย่างแน่นหนาในจิต เหตุเพราะกระทำด้วยจิตอย่างตั้งใจ วินิจฉัย และตกลงปลงใจแล้ว ดั่งที่ได้กล่าวไว้แล้วในธรรมเก้าประการ

จะเห็นได้ว่า การกระทำกรรม หรือประพฤติธรรม ใดๆ อันสำเร็จด้วยจิต ย่อมมีผลมากดั่งตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย คือการที่สัตว์มีความพยาบาทแล้วลงมือทำร้ายทำลายถึงขั้นฆ่า แม้จะด้วยความเพียรมากเท่าไร ถ้าฆ่าด้วยเพียงมือเท้าที่มีอยู่ ย่อมต้องเห็นความบาดเจ็บที่สัตว์อื่นได้รับจากการกระทำของตน ถ้าไม่ใช่เพราะความบ้าระห่ำเมามัน ย่อมต้องเกิดความสังเวช แล้วก็จะหยุดได้ในที่สุด แต่ถ้ากระทำไปด้วยจิตที่วินิจฉัยแล้วว่าจะต้องทำลายล้าง แม้ไม่ต้องอาศัยความบ้าระหำเมามัน ก็สามารถที่จะขวนขวายหาศัตราอาวุธที่จะทำลายล้างได้ทีละมากๆ หรือหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำลายล้างให้ได้มาก ยิ่งเห็นความฉิบหายล้มตายของสัตว์ที่ถูกทำลาย ก็จะยิ่งมีความกระเหี้ยนกระหือที่จะทำให้ได้มากยิ่งๆ ขึ้นไป ตัวอย่างมีให้ได้เห็นแล้วในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ นี้เอง

ในวันนี้ ขอแสดงเพียงศีลข้อที่หนึ่งก่อน ยังเหลืออีกอย่างน้อย สี่ข้อ ที่จะทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ย่อท้อ สามารถที่จะดำรงตนเองอยู่ในฐานะความเป็น มนุษย์ ได้ เหตุก็เพราะว่า ศีลห้านี้ เป็นศีลของมนุษย์ เป็นศีล หรือข้อกำหนดไว้ในจิตของผู้ที่จะดำรงตนเป็นมนุษย์ ไม่เป็นสัตว์ที่ต่ำกว่ามนุษย์ และสามารถที่จะยกตนเองให้สูงขึ้นไปยิ่งๆ ขึ้น เพื่อที่จะหนีให้พ้นความทุกข์ที่เป็นวัฎฎของสัตว์ในสามสิบเอ็ดภพภูมิ

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้วว่า นี้เป็นธรรมเก่า คือเป็นธรรมที่มีมาก่อนแล้ว ไม่ว่าในคำสอนของศาสดาใดๆ แม้ก่อนพระพุทธองค์จะตรัสรู้ธรรมอันยิ่งนี้ด้วย ธรรมเก่านี้ เป็นการเตือนตนเองได้ดียิ่ง ถ้าเรานำเอาธรรมนี้มาประพฤติปฏิบัติอยู่อย่างไม่ย่อท้อ ก็เพียงพอที่จะไม่ลงสู่อบายฯ ได้แล้ว ธรรมนี้คือ การแบ่งระดับของมนุษย์ที่มีลักษณะตามข้อกำหนด คือปกติเดินหรือว่าเคลื่อนที่ไปด้วยเท้าสองเท้าและกระดูกสันหลังตั้งเป็นฉากกับพื้นโลก ส่วนที่เรียกว่าเดรัจฉานนั้น ก็เพราะว่า ปกตินั้นจะแคลื่อนไหวด้วยเท้าสี่เท้า และกระดูกสันหลังขนานกับพื้นโลก การแบ่งมนุษย์นั้นมีอยู่ ห้า ชั้นด้วยกัน โดยแบ่งตามพฤติกรรมของการรักษาศีล

ถ้ารักษาศีลไม่ได้เลยทั้ง ๕ ข้อ คือลักษณะของ มนุสสเนรยิโก คือมีกายเป็นมนุษย์ แต่จิตนั้นยั้งไม่ลืมภพภูมิเดิมและจะต้องกลับไปยังภูมิเดิม และน่าจะลงลึกยิ่งกว่าเดิมคือนรกภูมิ

ถ้ารักษาศีลได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วมีจิตน้อมไปในทางที่ชอบหลอกหลอน หลอกลวง เอารัดเอาเปรียบ เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว โกหกพกลมเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการมากของตน ไม่รู้จักการแบ่งปันเห็นอกเห็นใจผู้อื่น พวกนี้ถูกเรียกว่า มนุสสเปโต คือมีกายเป็นมนุษย์แต่จิตนั้นเป็นวิญญาณที่คอยหลอกหลอนผู้อื่น

ถ้ารักษาศีลได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่มีจิตที่น้อมไปในทางความเสื่อม ไม่รู้จักรักษาศักดิ์ศรี ไม่ว่าจะของตนเอง เครือญาติ หรือหมู่คณะ กระทำความเสื่อมเสียได้ทุกชนิดโดยไม่มีความละอาย ไม่เกรงกลัวบาป ไม่เกรงต่ออาญาใดๆ พวกนี้ถูกเรียกว่า มนุสสติรัจฉาโน คือมีกายเป็นมนุษย์แต่จิตนั้นไม่ต่างอะไรกับสัตว์เดรัจฉานที่มีความชั่วร้ายยิ่งนักเฉกเช่นเดียวกับหมาอย่างไรอย่างนั้น

ถ้ารักษาศีลได้ครบห้าข้อ แม้จะบกพร่องบ้างแต่ไม่รุนแรง รู้จักแก้ไขตนเองอยู่เป็นประจำ รู้ตัวเองว่าทำผิดไม่งามไม่เป็นที่สรรเสริญของเหล่าบัณฑิต แล้วเพียรพยายามแก้ไขตนเองให้ดีให้ได้ เหล่านี้เป็นพวกที่ได้รับการขนานขานเรียกว่า มนุสสมนุสโส คือมีกายเป็นมนุษย์แล้วยังมีจิตใจเป็นมนุษย์ด้วย

ถ้ารักษาศีลได้ครบห้าข้อ และยังมีความละอายและเกรงกลัวในบาป และผลแห่งกรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว เพียรพยายามฝึกฝนตนเอง ละเสียซึ่งกิเลสฝ่ายต่ำอย่างสิ้นเชิง ไม่กระทำความชั่วบาปแล้ว แม้ในที่ลับ (คือแม้ในจิตก็ไม่คิดถึงเรื่องอกุศลแล้ว) แม้ในที่แจ้ง เหล่านี้เป็นพวกที่ได้รับการขนานขานเรียกว่า มนุสสเทโว คือมีกายหยาบนี้เป็นมนุษย์และมีจิตที่เป็นเทวดาแล้ว

วันนี้ก็ขอจบตอนที่สามเอาไว้เท่านี้ก่อน ค่อยว่ากันใหม่ในตอนต่อไป เมื่อมีโอกาส


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
Kittiyano

Reply Quote
 
Go to top
ตอบกลับ
เริ่มหัวข้อใหม่
หน้า: 1