ไขปัญหาธรรมบนเว็บบอร์ด

ยินดีต้อนรับ, ผู้เยี่ยมชม
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน.    ลืมรหัสผ่าน?

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ตอนที่ 1
(1 viewing) (1) ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
Go to bottom
ตอบกลับ
เริ่มหัวข้อใหม่
หน้า: 1
หัวข้อ : หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ตอนที่ 1
#78
หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ตอนที่ 1 13 ปี, 6 เดือน ก่อน  
หลวงตาได้กล่าวนำในเรื่อง ภัยต่อพุทธศาสนา โดยนำเอาหลักในการปฏิบัติที่ง่ายที่สุดสำหรับความเป็นมนุษย์ ด้วยการกำหนด กาย วาจา ใจหรือจิต ของเราในการทำกิจต่างๆ โดยมีศีลห้าเป็นเครื่องควบคุม และมีหลักธรรมเก้าประการ เป็นเครื่องตรวจสอบ

หลักธรรม ก็คือหลักแห่งธรรมชาติ นั่นเอง การทำตัวเราให้เข้าใจในธรรมชาติต่างๆ รอบตัวเรา การสร้างกรรมต่างๆที่จะเกิดจากตัวเราไปสู่ธรรมชาติโดยรู้จักธรรมชาติรอบตัวเราอย่างถ่องแท้มาเป็นแบบอย่าง เราก็จะสร้างกรรมโดยมีความผิดไปจากธรรมชาติน้อยที่สุด

ต้นไม้หนึ่งต้น เรามองด้วยการพิจารณาตั้งแต่ไม้นั้นเริ่มเจริญขึ้นมา เราไม่รู้ดอกว่า ต้นไม้นั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป เราได้แต่เฝ้ามองต้นไม้นั้นเติบใหญ่ วันเวลาผ่านไป จนเช้าวันหนึ่ง เราสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงใหม่เกิดขึ้น กิ่งก้านที่เคยมีใบปกคลุม ใบเริ่มร่วงลงสู่ดินเป็นจำนวนมากแต่ยังคงมีเหลือใบที่อ่อนอยู่ แล้วมีธรรมชาติใหม่แทรกขึ้นมาให้ความสวยงามและกลิ่นโชยหอม ในระหว่างที่ไม้นั้นกำลังผลิดอก ก็มีธรรมชาติอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมากหน้าหลายเผ่าพันธุ์

เราได้เห็นธรรมชาติที่มาใหม่เหล่านั้น เกาะที่ดอกหนึ่งแล้วก็ไปที่อีกดอกหนึ่ง แล้วก็ไปที่อีกดอกหนึ่ง อย่างนี้อยู่หลายวัน ที่สุดเมื่อถึงกาลเวลาอันควร กลีบดอกเหล่านั้นก็ร่วงหล่นหลุดออกจากต้นไม้นั้น แต่เราได้เห็นอีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ในการร่วงหล่นนั้น ยังมีที่ไม่ร่วงหล่นก็มากมาย เกิดเป็นตุ่มเล็กๆ ขึ้นมาภายใต้ช่อดอกนั้นๆ เราเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงนั้นๆต่อไปเรื่อยๆ ที่สุดเราก็เห็นการเจริญเติบโตของธรรมชาตินั้นมากขึ้นทุกวัน

มีธรรมชาติอื่นมาเกี่ยวข้องอีก คืบคลานมาบ้าง เดินมาบ้าง บินมาบ้าง มีมากหน้าหลายตาเช่นกันแต่ไม่เหมือนในครั้งแรก เมื่อครั้งแรกนั้น ธรรมชาติเล็กบ้างใหญ่บ้างมาแล้วก็ไป ไม่ได้ทิ้งความเสียหายไว้ให้เราเห็น แต่ธรรมชาติใหม่ที่มานี้ ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้ให้เราเห็น ลมมา ฝนมา ต้นไม้นั้นก็ สะบัดพลิ้วไปตามลมและฝน เมื่อฝนและลมหมดแล้ว เราสังเกตเห็นถึงความเสียหาย ช่อผลที่อยู่ภายใต้การบดบังของหมู่ใบที่ปกคลุมหนาได้รับความเสียหายน้อย ช่อใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มแตกออกมา บ้างก็เสียหายมาก บ้างก็เสียหายน้อย

แล้วเช้าวันรุ่งขึ้นเราก็เห็นใบอ่อนแตกออกมากมาย ค่อยๆเจริญขึ้นปกคลุมกิ่งก้านช่อผลที่ยังคงอยู่เหล่านั้นไว้อย่างแนบเนียน แต่ก็ยังไม่รอดพ้นไปจากสายตาของธรรมชาติใหม่ที่มา ธรรมชาติใหม่เหล่านั้น ได้นำเอาผลที่สุกได้ที่พอกับความต้องการของธรรมชาติใหม่ที่เคลื่อนมาในรูปแบบต่างกันติดตัวเอาไปบ้าง ทิ้งให้ตกร่วงลงสู่ดินโดยรอบบ้าง เราเองก็ได้ทดลองปลิดเอาผลเหล่านั้นมาทดลองรสบ้าง เราก็ได้รู้จักว่า ลักษณะใดมีรสเช่นไรและลักษณะใดมีรสที่พอดีกับความรู้สึกของเรา

เราได้ศีกษาธรรมชาติของต้นไม้นั้นแล้วอยู่หลายครั้ง มันก็เป็นเช่นนี้ร่ำไป ต้นเก่าล้มไปต้นใหม่ก็เจริญขึ้นมาทดแทน จำนวนมากขึ้น ต่างก็แย่งชิงกัน ที่ได้แดดอุดมดีก็เจริญไว ที่สู้ไม่ไหวถูกบดบังก็ต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด ด้วยการยื่นกิ่งก้านออกไปในทิศทางใหม่ที่จะสามารถหาแดดได้ ที่สู้ไม่ไหวก็ล้มตายไป เป็นเช่นนี้เช่นนี้ เราได้เห็นและศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติของต้นไม้ต่างๆ รอบตัวเราอย่างแจ่มแจ้งแทงตลอด

จนวันหนึ่ง เราได้ออกสู่โลกกว้าง ได้พบต้นไม้นานาชนิดมากมายเหลือคณานับ เฝ้าดูไป ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงของหมู่ไม้นั้นเปลี่ยนแปลงไปในรู้แบบเดียวกัน ช้าบ้าง เร็วบ้าง หรือนานจนไม่อาจรอคอย เราก็อาจจะประมาณได้ว่า มันคงต้องใช้เวลานานเป็นระยะประมาณเท่าใด แล้วค่อยหวนคืนกลับมาศึกษามันอีกในโอกาสหน้า เดินทางไปศึกษาไป ได้พบเห็นสิ่งที่เหมือนและแตกต่างมากมาย ที่ว่าจะต้องหวนคืนไปก็ได้พบเห็นในระว่างทาง จึงได้เข้าใจว่า ธรรมชาติทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเช่นเดียวกัน ต่างกันก็แต่เวลาของความเจริญเติบใหญ่ ที่สุดก็เข้าใจในธรรมชาติของต้นไม้ทั้งหลายว่า มันเป็นเช่นนี้เอง

นี้คือที่มาของคำว่า “รู้ต้นไม้หนึ่งต้น ย่อมรู้ต้นไม้ทั้งป่า”

ไม่ว่าจะเป็น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล เปลือก เนื้อที่มีทั้งอ่อนและแข็งมีสะเก็ด กระพี้ มีแก่นบ้างไม่มีแก่นบ้าง และทั้งหมดก็เริ่มต้นมาจากต้นกำเนิดที่เป็นรากเหง้าเผ่าพันธุ์

โดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน คำพูดนี้อาจถูกคัดค้านว่า รู้แค่นี้ใช้การอะไรไม่ได้ดอก ยังมีเรื่องที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาย เพื่อที่จะเร่งการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ เปลี่ยนแปลงพันธุกรรม เพื่อความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์โลก อาจจริงหรือไม่จริง เวลาย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่อย่าให้ถึงขั้นทำลายเผ่าพันธุ์ เพราะว่านั่นจะทำให้สิ้นชาติพันธุ์ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ารากเหง้าเผ่าเดิมนั้นเป็นเช่นไร

การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เข้าไปแทรกแซงการดำรงอยู่ของธรรมชาติแต่เดิมนั้น ย่อมเป็นเรื่องไม่บังควร ควรที่จะเป็นการศึกษาและช่วยเหลือธรรมชาติในส่วนที่ขาดก็น่าจะเพียงพอแล้ว อย่าแทรกแซงธรรมชาติด้วยความทะยานอยากของกิเลส เพราะนั้นเท่ากับการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ด้วยอวิชชา เพราะ “รู้เพียงแค่กำมือ” ก็พอเพียงแล้วที่จะเอาตัวรอดพ้นจากทุกข์ภัยได้ ถ้าทุกรูปทุกนาม เข้าใจตรงกัน ธรรมชาติย่อมแบ่งปันที่พอเพียงสำหรับทุกรูปทุกนาม แต่เพราะความทะยานอยากด้วยกิเลส จึงอยากที่จะมีมากกว่า ใช้อุบายต่างๆ ด้วยโยนิโสผิดธรรม ที่สุดก็เป็นการทำลายความสมดุลแห่งธรรมชาติ นี่ก็เพราะ อวิชชา

อวิชชา นี้แหละ เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายใจ ความไม่เกรงกลัวต่อบาปย่อมตามหลังมา

เพราะความแก่กล้าแห่งอวิชชาด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นเพราะยกตนว่าเป็นผู้รู้ในศาสตร์วิทยาการในแขนงนั้นๆ ไม่ถ่องแท้ในธรรม ไม่เข้าถึงในธรรมชาติแห่งศาสตร์ที่ศึกษา เปรียบประดุจหนึ่งดั่งเมล็ดข้าวสารที่ไม่นอนราบตามธรรมชาติที่ควรเป็น กลับตั้งตัวขึ้น ไม่พิจารณาด้วยวิชชาอันเป็น สัมมาทิฏฐิ คือความรอบรู้ในธรรมชาติที่ศึกษาอย่างถ่องแท้ ประกอบพร้อมไปด้วยการวินิจฉัยด้วยปัสสัทธิ คือมีความสงบระงับแล้วรวบรวมประมวลมาซึ่งองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาผ่านมา นำมาวิเคราะห์วิจัย วินิจฉัยด้วยความไม่ประมาทในทุกๆด้าน ทำการพัฒนาให้เป็นองค์รู้ใหม่ที่สมบูรณ์ ไม่ทำร้ายทำลายความเป็นของเดิม แต่ส่งเสริมเฉพาะส่วนที่ขาด ไม่มากเกินจนสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ประสงค์ของธรรมชาติแห่งศาสตร์วิทยานั้นๆ เพราะว่า

วิชชา อันประกอบด้วยสัมมาทิฏฐินี้แหละ เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย ความละอายใจ ความเกรงกลัวต่อบาปย่อมตามหลังมา

ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ย่อมเป็นธงนำให้ปัญญานั้นตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ดำเนินเสริมสร้างความคิดไปในทางที่ไม่ผิดธรรม น้อมนำให้จิตตรงเข้าสู่วิปัสสนาญาณ คือปัญญาอันยิ่งและดิ่งตรงสู่องค์รู้อย่างแท้จริง จึงจะรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมชาตินั้นๆ เข้าสู่หนทางแห่ง มรรคแปด ก่อให้เกิดปัญญาไม่รู้จบ เพราะมรรคแปดเป็นธรรมของโลก มิใช่ธรรมของศาสดาใดศาสดาหนึ่งโดยเฉพาะ บุคคลผู้เป็นปัจเจกย่อมสามารถพาตนเองเข้าสู่มรรคแปดได้โดยไม่ยาก หากตั้งมั่นอยู่ในองค์ศีลมีสัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า พิจารณาธรรมทั้งหลายโดยมีหลักแห่งธรรมเก้าประการเป็นหางเสือ ย่อมสามารถนำเรือนาวาชีวิตนี้สู่ความสำเร็จได้สมปรารถนาในที่สุด

วันนี้หลวงตาขอนำทางเพียงเท่านี้ก่อน เมื่อมีโอกาสค่อยมาว่ากันต่อในทางเดินสายนี้


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
Kittiyano

Last Edit: 2021/11/11 18:31 By admin.
Reply Quote
 
#79
Re: หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ตอนที่ 1 13 ปี, 6 เดือน ก่อน กรรม: 0
กราบนมัสการ หลวงพ่อกิตติญาโณ

ผมได้อ่านกระทู้ใหม่แล้วครับ กราบขอบพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างสูงครับ ที่ได้เมตตาโพสต์กระทู้ธรรมมาให้อ่านตลอด ผมจะแจ้งข่าวให้เพื่อนๆทุกคนได้ทราบและเข้ามาอ่านกันต่อๆไปครับ

ขอนมัสการด้วยความเคารพ

อดิศักดิ์ ตันตาปกุล


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
admin
ผู้ดูแลระบบ
กระทู้: 46
graph
สมาชิกที่ไม่ได้ออนไลน์ Click here to see the profile of this user
Reply Quote
 
#178
Re: หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ตอนที่ 1 10 ปี, 10 เดือน ก่อน  
สรุปที่ฟังมาเป็นหลักคำสอนของหลวงตา หรือ พระพุทธเจ้า ?


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
พุทธวจน

Reply Quote
 
#257
Re: หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ตอนที่ 1 9 ปี, 8 เดือน ก่อน  
ที่กล้าใช้สมญานามว่า "พุทธวจน" ก็อาจเอื้อมมากแล้วนะ ยังมีคำถามที่เป็นเหมือนคนไร้สติ ขาดความรับผิดชอบ เอาแค่ได้แสดงในที่สาธารณะก็เป็นว่าสะใจแล้ว น่าสงสารยิ่งนัก

มีมากที่กล่าวอ้างว่าเป็น พุทธวจน ทั้งอ้างเป็น พระพุทธเจ้า องค์ใดองค์หนึ่งมาเกิดบ้าง มาเข้าทรงบ้าง ทั้งหลายทั้งมวลก็เพราะ คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ ถึงหลักธรรมคำสอนจริงๆ และที่สำคัญ พระพุทธองค์ผู้เป็นบรมครู พุทธศาสดา ได้ให้สติไว้อย่างชัดเจนว่า การกล่าวสิ่งใด ในที่ใดๆ ไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะกล่าวอ้างว่าเป็นคำของพระองค์ เรียนรู้อะไร เข้าใจมาอย่างไร ก็แสดงตัวตนของตนเอง การกล่าวว่าได้เรียนจากใครใช่ว่าจะถูกทั้งหมด ใช่ว่าจะเป็นอย่างที่เรียนมาทั้งหมด เพราะที่กล่าวออกมานั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการร่ำเรียน และส่วนใหญ่เป็นความเข้าใจเฉพาะตน การแสดงตนของหลวงตา จึงเป็นการบอกกล่าวว่า เรียนรู้มา แล้วได้ทดลองปฏิบัติตามในสิ่งที่เรียนรู้ ทำการแก้ไขในสิ่งที่เข้าใจผิด และทดลองให้เกิดผล ทดสอบว่าไม่เป็นภัย เป็นการเดินในทางสายถูก ตามหลักวิทยาศาสตร์ เฝ้าดู วิเคราะห์ สรุปผล แล้วจึงนำมาบอกต่อ สนใจหรือไม่สนใจขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคล ที่ได้ผลก็เพราะบุคคลนั้นสามารถนำไปต่อยอด ด้วยมีหลักเดียวกัน ที่ไม่ได้ผล ก็เพราะบุคคลนั้น ไม่ได้เดินในหลักเดียวกัน ก็เท่านี้

และขอชี้จุดเล็กๆ ที่ไม่มีใครใส่ใจสนใจนำมาเป็นฐานในการวิเคราะห์ ตามเนื้อหาน้อยๆ นี้

มีคนพยายามมากในการที่จะตอบโต้เรื่องธรรมมะ แต่ธรรมมะนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ พระพุทธองค์ผู้ทรงตรัสรู้ ไม่ได้บอกว่าพระองค์เป็นผู้สร้างสิ่งต่างๆ การตรัสรู้นั้น เป็นเพียงการเข้าไปเห็นในสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นอยู่แล้ว แต่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถก้าวล่วงเข้าไปรู้ได้

พระองค์จึงนำสิ่งที่ตรัสรู้ คือเข้าไปล่วงรู้ได้ด้วยความเพียรอย่างยิ่งในทุกรูปแบบจวบจน "มรรคสมังคี" คือมีความพร้อมในทุกทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ สติ และอารมณ์ ถ้าได้อ่านประวัติของพระองค์ที่มีการนำเผยแพร่กันมานานนับได้ไม่น้อยกว่า สองพันห้าร้อยปี และรู้จักสังเกตุ ไม่งมงาย เป็นนักคิด เป็นนักวิเคราะห์ ก็จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้น ของคำสอน อันรวมถึงประว้ติต่างๆ ล้วนเป็น "วิทยา" คือเป็นหลักวิทยาศาสตร์ล้วนๆ หลักวิทยาศาสตร์มีกฎง่ายๆ เฝ้าดู วิเคราะห์ ติดตามผล ซึ่งผู้ที่ไม่งมงาย สามารถทำตามได้อย่างแท้จริง งมงายในที่นี้มีทั้งสองทาง คือสุดโต่งไปทางหลงเชื่อเสียจนไม่รับรู้อะไรที่เป็นเรื่องที่เป็นจริง และสุดโต่งไปทางไม่เชื่อเสียจนไม่รับรู้อะไรที่เป็นเรื่องเป็นจริง

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีความคิดเห็นแบบนักวิทยาศาสตร์ คือมีความคิดที่เปิดกว้าง มีสติ เป็นตัวของตัวเอง ไม่งมงาย ไม่ปิดกั้น เดินสายกลาง ยอมรับในสิ่งต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ ทดลอง แล้วติดตามผล ก็จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จได้

ที่ยกตัวอย่างพุทธประวัตินั้น เป็นจุดที่ทำให้เราเข้าใจอะไรอะไรได้มากทีเดียว เริ่มแต่ได้เดินทางออกจากหมู่พวกพ้องที่เฝ้าติดตาม คือกลุ่มผู้คงแก่เรียนทั้งห้า ได้ใช้ความคิดทบทวนด้วยตัวของตัวเอง ได้ทดลองทำในสิ่งต่างๆ ที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่าๆ ที่สุดก็ได้นั่งพักในที่อันรื่นรมณ์ เป็นร่มไม้ใหญ่ อยู่ใกล้น้ำ พักไปวิเคราะห์ไป ทั้งหลับตาและไม่หลับตา อารมณ์ก็แจ่มใส ลืมตามาก็มีคนเอาข้าวมาให้กิน ที่ยิ่งกว่านั้น ยังเล่าเรื่องประสบการณ์ที่ดีๆ อันเกี่ยวกับใต้ร่มไม้แห่นนั้น ผู้ที่มานั้นก็แสนจะสุภาพอ่อนน้อม มีความเคารพศรัทธา กล่าวแต่มธุรสวาจา กล่าวให้กำลังใจ และมีความเชื่อมันในผู้รับฟัง ทุกสิ่งล้วนเป็นกำลังทั้งสิ้น เมื่อกินอิ่มด้วยอาหารอันเลิศถึงสี่สิบเก้าคำ (ลองสมมุติว่าเป็นข้าวอันเลิศรสแบบโบราณของชนเผ่าที่อยู่ในชมพูทวีป ซึ่งมีทั้งข้าว เครื่องปรุงรสอันโอชะ ประกอบด้วยนมและผักที่ปรุงเข้ากันอย่างเลิศ) สี่สิบเก้าคำ ถ้าเป็นปัจจุบัน ก็ประมาณว่า สี่สิบเก้าช้อน น่าจะอิ่มแป้แล้วนะ

หลังจากอิ่มอาหารแล้ว เดินคิดอะไรเพลินๆ ก็สรุปว่าต้องไปอาบน้ำ โกนหนวดเครา จัดการผมเผ้าที่รุงรัง ซักผ้าที่ส่งกลิ่นอันไม่น่ารื่นรมณ์ ที่รู้ว่าไม่นารื่นรมณ์ ก็เพราะว่าก่อนหน้านั้นไม่ได้สนใจใส่ใจเพราะอารมณ์มันหมกมุ่นจึงชินชา ต่อเมื่ออารมณ์ดี ความชินชาก็เปลี่ยนมาสู่ความเป็นปกติ จึงรับรู้ถึงสิ่งรอบข้างได้มากขึ้น ความเป็นจริงก็ปรากฎ เมื่อยอมรับความเป็นจริง ก็มองเห็นข้อบกพร่องทั้งหลายแหล่ จัดการแก้ไขไปตามสภาพ ไม่ต้องปรุงแต่ง แล้วก็ตั้งมั่นพร้อมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับตนเองด้วยการอธิษฐาน ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาเพราะขณะนั้นยังไม่ได้ตรัสรู้

เพราะมีความพร้อมในทุกด้านมาแล้ว เมื่อเปลี่ยนสภาพต่างๆ ของตนเองและสิ่งรอบกาย จิตก็พร้อม มรรคทั้งหลายก็สามัคคีเป็นพลัง ด้วยเหตุแห่งจิตที่ไม่หมกมุ่นไม่ยึดมั่น ตั้งเอาไว้แล้วว่า ตายเป็นตาย ถ้าไม่ได้ก็ไม่ลุกขึ้นจากที่นี้ ความห่วง ความอาลัย และที่สำคัญความยึดทั้งหลายที่ขาดสบั่นไป จิตที่เคยมีนิวรณ์ฉุดรั้งก็คลายออก ปล่อยให้เป็นไปตามกำลังของธรรมชาติที่มีในตัว ความสำเร็จก็เกิดขึ้น ด้วยเพราะ

"จิตเป็นพลังงานรูปหนึ่ง มีอำนาจ สร้างรูปได้ ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำ"


ใส่รหัสที่นี่   
กล่องตอบด่วน
Kittiyano

Last Edit: 2014/10/20 14:43 By admin.
Reply Quote
 
Go to top
ตอบกลับ
เริ่มหัวข้อใหม่
หน้า: 1